
แท่นวางสินค้าหรือพาเลท (Pallet) ได้ถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการขนส่งทั่วโลก รวมถึงในสายการผลิต จัดเก็บ คลังสินค้า ที่ช่วยปกป้องและรักษาคุณภาพของสินค้าไม่ให้แตกหักหรือชำรุดเสียหายแล้ว และยังเป็นอุปกรณ์สำคัญที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายสินค้า ดังนั้นบทความนี้จะมาบอกว่าพาเลท (Pallet) นี้สำคัญอย่างไร มาดูกันเลย goimport

พาเลท (Pallet) คืออะไร
พาเลท (Pallet) มีลักษณะเป็นแท่นสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ ใช้สำหรับวางสินค้าในสถานที่เก็บสินค้า มีอยู่หลายประเภท เช่น พาเลทที่ทำจากเนื้อไม้ พลาสติก โลหะ กระดาษแข็ง ภายในมีช่องสำหรับให้งาของรถยก (Fork Lift) เสียบยกแท่นขึ้นมา เพื่อขนย้ายลังสินค้า เพิ่มความสะดวกและรวดเร็วในการเคลื่อนย้าย รวมทั้งสามารถรวบรวมสินค้าได้อย่างเป็นระบบและประหยัดเวลา

จุดเริ่มต้นของพาเลท (Pallet) เป็นอย่างไร
พาเลท (Pallet) มีบทบาทในช่วงทศวรรษที่ 1960 หลังจากมีการพัฒนาทางรถไฟที่เกิดจาการรวมตัวกันของสหประชาชาติในยุโรป ประกอบด้วยเบลเยียม, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, อิตาลี, ลักเซมเบิร์ก, ฮอลแลนด์ ต่อมา International Union of Railways ได้กำหนดมาตรฐานทั่วไปสำหรับวางสินค้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการโหลดและการขนถ่ายผ่านรางรถไฟ ปัจจุบันในยุโรปมีการใช้มาตรฐาน ซึ่งควบคุมโดยข้อบังคับ ISO3676, ISPM 15, ISO TK/22 และ UIC 435-2 / 435-4 และพาเลทจะมีอยู่ 3 ขนาด ได้แก่
1. ยูโร (EUR-pallet) มีขนาด 120 x 800 x 145 มม.
2. Finpalleta (FIN-pallet, Finnish pallet) มีขนาด 1200 x 1000 x 145 มม.
3. อเมริกัน มีขนาด1200 x 1200 x 145 มม.

ลักษณะของพาเลทที่นิยมใช้แบ่งออกเป็นกี่แบบ
แบ่งออกเป็น 2 แบบ ดังนี้
1. แบบใช้ครั้งเดียว (Single Used) วัสดุชนิดนี้มักจะเป็นวัสดุที่มีราคาถูก และเหมาะสมกับงานที่ใช้ เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่าย สามารถทำลายทิ้งได้ง่าย เช่น พาเลทไม้หรือกระดาษ
2. แบบการใช้หมุนเวียน (Recycle used) ใช้เพื่อการขนส่ง เช่น การขนถ่ายสินค้าจากคลังเก็บสินค้าไปยังหน้าร้านต่าง ๆ แล้วนำกลับมาใช้อีกรอบ จะต้องมีความแข็งแรงและมีความทนทานต่อการใช้งานค่อยข้างสูง เช่น พาเลทพลาสติก

ประโยชน์ของพาเลท (Pallet) มีอะไรบ้าง
1. เพื่อใช้ในการขนย้ายสินค้าจากคลังเก็บสินค้าไปยังยานพาหนะที่จะใช้ในการขนส่ง เช่น ขนส่งทางเรือ ทางอากาศหรือเครื่องบิน และทางรถยนต์
2. ช่วยให้ระบบการขนย้ายสินค้าเป็นไปอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการประหยัดเวลาและประหยัดค่าจ่ายในการขนส่ง
3. ช่วยลดความเสียหายของสินค้าในระหว่างการขนส่ง หรือระหว่างการเคลื่อนย้ายได้ดี
4. ช่วยให้การจัดเก็บภายในคลังสินค้ามีระบบ จัดวางสินค้าเป็นหมวดหมู่ และช่วยเพิ่มพื้นที่ในการจัดเก็บให้เป็นระเบียบง่ายต่อการเคลื่อนย้าย
5. ช่วยให้เกิดความสะดวกในการจัดเก็บ และการตรวจนับสินค้าคงเหลือในคลังทำได้ง่ายขึ้น
6. เป็นประโยชน์ต่อการกระจายสินค้าจากคลังสินค้าไปตามบูธ หรือตามงานแสดงสินค้าต่าง ๆ
7. หากใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะงาน ยังช่วยในการบริหารต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะส่งผลต่อต้นทุนการผลิต สามารถทำให้ผลประกอบการมีกำไรเพิ่มมากขึ้นได้
ขอบคุณผู้สนับสนุน ล็อตโต้สด